ท้องฟ้า

นิยาม   ท้องฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศหรืออวกาศที่สามารถมองเห็นได้จากพื้นผิวโลก นก แมลง เครื่องบินและว่าว ถูกจัดว่าบินอยู่ในท้องฟ้า มีหลายเหตุผลที่ทำให้ท้องฟ้านั้นยากที่จะจำกัดความ   ในเวลากลางวันท้องฟ้าปรากฏเป็นพื้นสีฟ้าเนื่องจากอากาศทำให้เกิดการกระเจิงของแสงอาทิตย์ ไม่ใช่เพราะว่ามีวัตถุสีฟ้าเหนือพื้นโลก เพราะเหตุนี้จึงเป็นการยากที่จะนิยามว่าท้องฟ้าคือสิ่งใด ท้องฟ้านั้นบางครั้งถูกจำกัดความว่าเป็นเขตของชั้นบรรยากาศโลกที่มีแก๊สแน่นหนา ในเวลากลางคืน ท้องฟ้านั้นปรากฏเป็นพื้นสีดำสนิท หรือบางครั้งเรียงรายไปด้วยดวงดาว แต่ถ้าเรากล่าวว่าทั้งหมดที่เราเห็นนั้นคือท้องฟ้า ก็จะกลายเป็นว่าท้องฟ้าคือจักรวาลซึ่งผิดจากความหมายแรกเมื่อเราเห็นตอนกลางวัน  ในเวลากลางวัน เราสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ต่อเมื่อไม่มีเมฆบดบัง ในเวลากลางคืน (และบางครั้งในเวลากลางวัน) เราสามารถมองเห็นดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และ ดวงดาว ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เราสามารถเห็นได้ในท้องฟ้าคือเมฆ รุ้งกินน้ำ และ ออโรรา สายฟ้าและ หยาดน้ำฟ้านั้น สามารถเห็นได้ในระหว่างเวลาที่มีพายุ บ่อยครั้งเราสามารถมองเห็นหมอกควันในเวลากลางวันและรัศมีของแสงในเวลากลางคืนเนื่องจากมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์  ในสายวิชาดาราศาสตร์ ท้องฟ้าถูกเรียกว่าทรงกลมฟ้า นั่นคือทรงกลมจินตภาพขนาดมหึมา หมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนและศูนย์กลางร่วมกันกับโลก ทรงกลมฟ้านั้นถูกแบ่งเป็นสัดส่วนเรียกว่ากลุ่มดาว  ดูท้องฟ้าของดาวเคราะห์อื่นสำหรับความหมายของท้องฟ้าในดาวเคราะห์ต่างๆและดวงจันทร์ในระบบสุริยะ

ทำไมท้องฟ้าตอนกลางวันจึงเป็น สีฟ้า ทำไมไม่เป็นสีดำในเมื่อจักรวาลนั้นเป็นสีดำ (ตามจริงก็ยังหาข้อสรุปกันไม่ได้ว่าจักรวาลมีสีอะไร) เหมือนตอนกลางคืน หลายคนอาจจะบอกว่าก็ตอนกลางวันมันมีแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ เลยไม่เป็นสีดำเหมือนตอนกลางคืน มันก็ถูกแต่ถ้าเป็นอย่างนั้น ทำไมตอนกลางวันฟ้าไม่เป็นสีขาว เหมือน แสงอาทิตย์  นั้นซิ เรื่องนี้เป็นปริศนามายาวนานเท่าๆ ตั้งแต่มนุษย์แหงนหน้ามองฟ้าเป็นครั้งแรก มันก็เป็นคำถามที่ค้างคาในหัวสมองมา เผ่าพันธุ์ของเรามาแสนนาน  จนกระทั้งเวลาล่วงเลยมาถึง ศตวรรษที่ 19 นักฟิสิกส์ชาวไอริส นามว่า John Tyndall จึงสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมท้องฟ้าจึงเป็นสีฟ้าได้ ด้วยทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ที่มีชื่อว่า ปรากฏการณ์ทินดอลล์ (Tyndall Effect) ที่ว่าแสงคลื่นสั้นเกิดการกระเจิงได้ดีกว่าแสงคลื่นยาวเมื่อไปกระทบกับอนุภาคแขวนลอยในของเหลว 

   อ่านต่อได้ที่ https://sites.google.com/site/tammaitongfahjungpenseefah/
←กลับไปหน้าที่แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

6/3